• Shuffle
    Toggle On
    Toggle Off
  • Alphabetize
    Toggle On
    Toggle Off
  • Front First
    Toggle On
    Toggle Off
  • Both Sides
    Toggle On
    Toggle Off
  • Read
    Toggle On
    Toggle Off
Reading...
Front

Card Range To Study

through

image

Play button

image

Play button

image

Progress

1/17

Click to flip

Use LEFT and RIGHT arrow keys to navigate between flashcards;

Use UP and DOWN arrow keys to flip the card;

H to show hint;

A reads text to speech;

17 Cards in this Set

  • Front
  • Back
  • 3rd side (hint)

สำนวเกี่ยวกับการให้และการรั

ได้อธิบายเกี่ยวกับสำนวนการให้และการรับสิ่งของหรือการกระทำไปแล้ว ในบทนี้จะอธิบายสำนวนการให้และการรับที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับ



1.คำนาม1(บุคคล) คำนาม2


いただきます


กรณีที่ผู้พูดได้รับสิ่งของ (คำนาม2) จากผู้ที่อาวุโสกว่าหรือมีตำแหน่งสูงกว่า


(คำนาม1) จะใช้ いただきますแทน


もらいます



わたしは社長にお土産(みやけ)を


いただきました。


ฉันได้รับของฝากจากประธานบริษัท

2.[わたしに]คำนามを くださいます


เมื่อผู้ที่อาวุโสกว่าหรือมีตำแหน่งสูงกว่าให้สิ่งของแก่ผู้พูดจะใช้ くださいます แทน


くれます


社長がわたしにお土産をくださいます


ประธานบริษัทกรุณาให้ของฝากแก่ฉัน



*กรณีที่ผู้รับเป็นคนในครอบครัวของผู้พูดก็ใช้ いただきます,くださいますเช่นกัน


娘(むすめ)は部長にお土産を


いただきます。


ลูกสาวของฉันได้รับของฝากจากผู้จัดการฝ่าย


部長が娘にお土産をくださいます。


ผู้จัดการฝ่ายกรุณาให้ของฝากแก่ลูกสาวของฉัน



3.คำนาม1 に คำนาม2 を やります


กรณีที่ผู้พูดให้สิ่งของ (คำนาม2) แก่ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าหรือสัตว์และต้นไม้


(คำนาม1) จะใช้ やります แต่ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะใช้ あげます ซึ่งฟังดูสุภาพกว่า やります กันมากกว่า


わたしは息子(むすこ)にお菓子(かし)を


やりました(あげます、さしあげます)

การให้และการรับการกระทำ

การให้และการรับการกระทำก็ใช้


いただきます,くださいます,やりますเช่นกัน



1.คำกริยารูป て いただきます


わたしは課長に手紙の間違いを直して


いただきます。


ฉันได้รับการแก้ไขจุดที่ผิดในจดหมายจากผู้จัดการแผนก

2.คำกริยารูป て くださいます


部長の奥さんが[わたしに]お茶を


教えてくださいました。


ภรรยาของผู้จัดการฝ่ายกรุณาสอนวิธีชงชาให้[ฉัน]


部長が[わたしを]駅まで送って


くださいました。


ผู้จัดการฝ่ายกรุณาไปส่ง[ฉัน]ถึงสถานีรถไฟ


部長が[わたしの]レポートを直して


くださいました。


ผู้จัดการฝ่ายกรุณาแก้ไขรายงานให้[ฉัน]



3.คำกริยารูป て やります


わたしは犬を散歩(さんぽ)に連(つ)れて行ってやりました。


(あげます、さしあげます)


ฉันพาสุนัขไปเดินเล่น

คำกริยารูป て くださいませんか

コピー機の使い方を教えてください


ませんか。


กรุณาสอนวิธีใช้เครื่องถ่ายเอกสารให้หน่อยได้ไหม



コピー機の使い方を教えていただけ


ませんか。


กรุณาสอนวิธีใช้เครื่องถ่ายเอกสารให้หน่อยได้ไหม

เป็นสำนวนขอร้องที่สุภาพกว่า


〜てください แต่ไม่เท่ากับ


〜ていただけませんか ที่ได้อธิบายไปแล้ว

คำนาม に คำกริยา

田中さんが結婚祝(けっこんいわ)いに


このお皿をくださいました。


คุณทานากะให้จานนี้เป็นของขวัญวันแต่งงาน



北海道旅行のお土産に人形


(にんぎょう)を買いました。


ซื้อตุ๊กตาเป็นของที่ระลึกที่ได้ไปเที่ยวฮอกไกโด

に ในที่นี้แสดงความหมายว่า


"เป็นสัญลักษณ์ของ〜" หรือ


"เป็นที่ระลึก〜"

คำกริยารูปพจนานุกรม } ために、〜


คำนามの


(เพื่อ...,เพื่อจะ...)

ために แสดงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คำนาม の ために ยังใช้ในความหมายว่า "เพื่อผลประโยชน์ของคำนาม" อย่างในประโยคตัวอย่างได้อีกด้วย



自分の店を持つために、


貯金(ちょきん)しています。


เก็บเงินเพื่อจะมีร้านเป็นของตัวเอง



健康(けんこう)のために、毎日走っています。


วิ่งทุกเช้าเพื่อสุขภาพ

*ได้อธิบายเกี่ยวกับ 〜ように ซึ่งเป็นสำนวนที่มีความหมายคล้ายคลึงกันไปแล้ว โดยคำกริยาที่อยู่หน้า ために จะเป็นคำกริยารูปพจนานุกรมที่แสดงความตั้งใจ ส่วนคำกริยาที่อยู่หน้า ように จะเป็นคำกริยารูปพจนานุกรมที่ไม่ได้แสดงความตั้งใจหรือคำกริยารูปปฏิเสธ


เมื่อเปรียบเทียบประโยคสองประโยคด้านล่าง ประโยคตัวอย่างแรกแสดงความตั้งใจโดยมี "การจะมีเป็นของตัวเอง" เป็นจุดมุ่งหมาย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นจึงเก็บเงิน ส่วนประโยคตัวอย่างสอง แสดงสภาพของจุดมุ่งหมายว่า ผลสุดท้าย "จะได้มีร้านเป็นของตัวเอง" จึงเก็บเงิน


自分の店を持つために、


貯金(ちょきん)しています。


เก็บเงินเพื่อจะมีร้านเป็นของตัวเอง


自分の店が持てるように、貯金して


います。


เก็บเงินเพื่อที่จะได้มีร้านเป็นของตัวเอง



*なります เป็นได้ทั้งคำกริยาที่แสดงความตั้งใจและคำกริยาที่ไม่ได้แสดงความตั้งใจ


弁護士(べんごし)になるために、法律


(ほうりつ)を勉強しています。


เรียนกฎหมายเพื่อจะเป็นทนายความ

คำกริยารูปพจนานุกรม の } に、〜


คำนาม

このはさみは花を切るのに使います


กรรไกรนี้ใช้ตัดดอกไม้



このかばんは大きくて、旅行に


便利(べんり)です


กระเป๋าใบนี้ใหญ่ดี สะดวกต่อการเดินทาง

รูปประโยคนี้ใช้ร่วมกับ 使います、


いいです、べんりです、やくに


たちます、[じかん]がかかります ฯลฯ เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ในการใช้หรือจุดมุ่งหมาย

คำบอกจำนวนは/も

わたしは[ボーナスの]半分(はんぶん)は


貯金(ちょきん)するつもりです。


…えっ、半分も貯金するんですか。


ฉันตั้งใจว่าจะเก็บเงิน[โบนัส]ไว้ครึ่งนึง


…หือ เก็บตั้งครึ่งนึงเลยหรอ

เมื่อใช้กับคำบอกจำนวน จะแสดงขีดจำกัดที่น้อยที่สุดที่ผู้พูดประเมินไว้


ถ้าใช้กับคำบอกจำนวน จะแสดงความรู้สึกของผู้พูดว่าจำนวนนั้นเป็นจำนวนที่มาก

〜に よって

チキンラーメンは1958年に安藤百福


(あんどうももふく)さんによって


発明(はつめい)されました。


ชิกเก้นราเมนถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณอันโด โมโมฟุกุในปี 1958

そうです (ดูเหมือน,ราวกับ,ท่าทาง)

1.คำกริยารูป ます (〜ますx) そうです


รูปประโยคนี้แสดงความหมายว่า ผู้พูดเชื่อว่าความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่แสดงโดยคำกริยาจะเกิดขึ้น สามารถใช้ร่วมกับคำกริยาวิเศษณ์ที่แสดงช่วงเวลาที่จะเกิดความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยน แปลงนั้น เช่น いまにも、もうすぐ、


これから ฯลฯ ได้



今にも雨が降りそうです。


ฝนทำท่าจะตกอยู่รอมร่อ



もうすぐ桜が咲きそうです。


ดูท่าดอกซากุระจะบานเร็วๆนี้

2.คำคุณศัพท์ い (〜いx) } そうです


คำคุณศัพท์ な (〜なx)


แสดงความหมายว่า ผู้พูดสามารถสันนิษฐานหรือคาดคะเนได้จากสภาพที่มองเห็นจากภายนอก แม้เรื่องราวหรือสภาพนั้นจะไม่ได้รับการตรวจสอบให้แน่ชัดก็ตาม


この料理は辛そうです。


อาหารนี่ท่าทางจะเผ็ด



*เมื่อต้องการคาดคะเนอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น ต้องใช้คำคุณศัพท์ที่แสดงอารมณ์ เช่น うれしい,かなしい,


さびしい ฯลฯ ร่วมกับ そうです เพื่อแสดงการสันนิษฐานหรือคาดคะเนจากสภาพที่มองเห็นจากภายนอก


うれしそうですね。


…ええ、実はきのう結婚(けっこん)を


申し込まれたんです。


ดูท่าทางมีความสุขนะ


…ค่ะ ที่จริงแล้วเมื่อวานฉันถูกขอ


แต่งงานน่ะ

คำกริยารูป て 来ます

1.คำกริยารูป て 来ます แสดงความหมายว่า ผู้พูดไปที่ใดที่หนึ่ง กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วกลับมาที่เดิม


ちょっとたばこを買って来ます。


จะไปซื้อบุหรี่แป๊บเดียว เดี๋ยวมา



*จากประโยคตัวอย่างแสดงการกระทำ 3 อย่างคือ 1 ไปสถานที่ที่มีบุหรี่ขาย 2 ซื้อบุหรี่ที่นั่นและ 3 กลับมาที่เดิม



สถานที่ที่เกิดการกระทำของคำกริยารูป てจะชี้ด้วย で ในตัวอย่างที่1 แต่ในตัวอย่าง


ที่ 2 แสดงสถานที่ที่เป็นที่มาของสิ่งของซึ่งชี้ด้วย を จะชี้ด้วย から โดยคำกริยาที่ใช้กับ から นอกจาก とってきます แล้วยังมีもってきます,はこんできます ฯลฯ ด้วย


スーパーで牛乳を買って来ます。


จะไปซื้อนมที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต เดี๋ยวมา


台所(だいどころ)からコップを取って来ます。


จะไปหยิบถ้วยมาจากในครัว

2.คำนาม (สถานที่) へ 行って来ます


ใช้คำกริยา いきます ในรูป て วางหน้า


きます แสดงความหมายว่า ไปยังสถานที่หนึ่งแล้วกลับมาอาจไม่กล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้น ณ สถานที่ที่ไปมาก็ได้


郵便局(ゆうびんきょく)へ行って


来ます。


จะไปที่ทำการไปรษณีย์ เดี๋ยวมา



3.出かけて来ます


ใช้คำกริยา でかけます ในรูป て วางหน้าきます แสดงความหมายว่า ออกไปที่ไหนสักแห่งแล้วกลับมา อาจไม่กล่าวถึงสถานที่ที่ไปหรือวัตถุประสงค์ที่ไปก็ได้


ちょっと出かけて来ます。


จะออกไปข้างนอก เดี๋ยวมา

คำกริยารูปて くれませんか


(ช่วย...(ให้ฉัน)หน่อยได้ไหม)

コンビニへ行って来ます。


…じゃ、お弁当(べんとう)を買って


くれませんか。


จะไปร้านสะดวกซื้อ เดี๋ยวมา


…งั้น ช่วยซื้อข้าวกล่องมาให้ด้วยได้ไหม

เป็นสำนวนขอร้องที่สุภาพกว่า


〜てください แต่น้อยกว่า 〜ていただけますせんか และ 〜てくださいませんかเหาะสมสำหรับใช้กับผู้ที่อาวุโสเท่ากันหรือน้อยกว่าตัวผู้พูด

คำกริยารูป ます(〜ますx)


คำคุณศัพท์ い (〜いx) } すぎます


คำคุณศัพท์ な (〜なx)

ゆうべお酒を飲みすぎました。


เมื่อคืนดื่มเหล้ามากเกินไป


このセーターは大きすぎます。


เสื้อกันหนาวตัวใหญ่เกินไป



*〜すぎます มีวิธีผันเหมือนคำกริยากลุ่มที่ 2


例 : のみすぎる,のみすぎ(ない),


  のみすぎた


いくら好きでも、飲みすぎると、体に


悪いですよ。


ถึงจะชอบแค่ไหน แต่ถ้าดื่มมากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพนะ

〜すぎます แสดงระดับของการกระทำหรือสภาพที่มากกว่าปกติหรือที่ควรจะเป็นปกติจะใช้ในกรณีที่การกระทำหรือสภาพนั้นไม่เป็นที่พึงปรารถนา

คำกริยารูป ます (〜ますx) } やすいです


            にくいです

1.กรณีคำกริยารูป ます เป็นคำกริยาแสดงความตั้งใจ 〜やすい จะแสดงความหมายว่าการกระทำนั้นได้ง่าย ส่วน 〜にくいแสดงความหมายว่าทำการกระทำนั้นได้ยาก


このパソコンは使いやすいです。


คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ง่าย


東京は住みにくいです。


โตเกียวไม่น่าอยู่



*ประโยคตัวอย่างข้อที่ 1 แสดงความหมายว่า คอมพิวเตอร์มีคุณลักษณะที่ใช้ง่าย ส่วนประโยตัวอย่างข้อที่ 2 แสดงความหมายว่า โตเกียวอยู่อาศัยลำบาก

2.กรณีคำกริยารูป ます เป็นคำกริยาที่ไม่ได้แสดงความตั้งใจ 〜やすい จะแสดงความหมายว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายส่วน 〜にくい แสดงความหมายว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นได้ยากหรือไม่ให้เกิดขึ้น


白いシャツは汚(よご)れやすいです。


เสื้อเชิ้ตสีขาวเลอะง่าย


雨の日は洗濯物(せんたくもの)が


乾(かわ)きにくいです。


วันที่ฝนตกเสื้อผ้าแห้งยาก



*〜やすい และ 〜にくい มีวิธีผันเหมือนคำคุณศัพท์ い


このコップは割(わ)れにくくて、


安全ですよ。


ถ้วยใบนี้แตกยาก ปลอดภัยแน่นอน

     คำคุณศัพท์い(〜いx)+〜く


คำนาม1を{คำนาม2 に   }します


     คำคุณศัพท์な(〜なx)+〜に

音を大きくします。


เร่งเสียงให้ดังขึ้น


部屋をきれいにします。


ทำห้องให้สะอาด


塩(しお)の量(りょう)を半分にします。


ลด(ปริมาณ)เกลือให้เหลือครึ่งนึง

ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในบทก่อนหน้าเกี่ยวกับ 〜く/〜になります ที่แสดงการเปลี่ยนสภาพของประธานของประโยคสำหรับ 〜く/〜にしますในบทนี้แสดงการเปลี่ยนสภาพของกรรม(คำนาม1)

คำนาม に します

部屋はシングルにしますか、ツインに


しますか。


จะเอาเป็นห้องเดี่ยวหรือห้องคู่ครับ


会議はあしたにします。


จะประชุมวันพรุ่งนี้

แสดงการตัดสินใจหรือการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

คำกริยารูปพจนานุกรม


คำกริยารูปない(〜ない)


คำกริยารูปた     }ばあいは、〜


คำคุณศัพท์い(〜い)


คำคุณศัพท์な(〜な)


คำนามの

時間に遅(おく)れた場合は、


会場(かいじょう)に入(はい)れません。


กรณีมาช้ากว่าเวลา จะไม่สามารถเข้าไปในสถานที่จัดงานได้



領収書(りょうしゅうしょ)が必要


(ひつよう)な場合は、言ってください


กรณีจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จ กรุณาแจ้ง

〜ばあい เป็นสำนวนแสดงการสมมุติสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ประโยคหลังจะแสดงวิธีการแก้ปัญหาหรือผลที่เกิดขึ้น ばあい ถือเป็นคำนาม จึงมีวิธีเชื่อมคำเหมือนการขยายคำนาม

คำกริยา   }รูปธรรมดา


คำคุณศัพท์い      } のに、〜


คำคุณศัพท์な }รูปธรรมดา


คำนาม   〜だー>〜な

のに ใช้ในกรณีที่ประโยคหลังไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์หรือคาดหวังเอาไว้ในประโยคแรก ส่วนใหญ่จะแสดงความรู้สึกผิดความคาดหมายหรือไม่พอใจ


約束をしたのに、彼女(かのじょ)は


来ませんでした。


ทั้งๆที่นัดกันแล้วแต่เธอก็ไม่มา



今日は日曜日なのに、働かなければ


なりません。


ทั้งๆที่วันนี้เป็นวันอาทิตย์ แต่ต้องทำงาน



ประโยคตัวอย่างข้อที่ 1 จากประโยคแรกผู้พูดคาดหวังว่า "เธอจะมาตามที่ได้นัดกันไว้" จึงรู้สึกเสียใจและผิดคาดที่เธอไม่มาส่วนประโยคตัวอย่างข้อที่ 2 จากประโยคแรกผู้พูดคาดหวังว่า "จะได้หยุดเนื่องจากเป็นวันอาทิตย์" แต่ก็ต้องไปทำงาน จึงใช้ のに เพื่อแสดงความรู้สึกไม่พอใจ

*ความแตกต่างระหว่าง 〜のに กับ 〜がเมื่อแทนที่ 〜のに ด้วย 〜が จะไม่แสดงความรู้สึกผิดความคาดหมายหรือไม่พอใจ


約束をしましたが、彼女(かのじょ)は来ませんでした。


นัดกันแล้ว แต่เธอไม่มา



*ความแตกต่างระหว่าง 〜のに กับ 〜ても 〜のに แสดงความรู้สึกของผู้พูดเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถแสดงเหตุการณ์ที่เกิดภายใต้เงื่อนไขสมมุติในทางตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์เอาไว้ได้เหมือนกับ 〜ても


あした雨が降っても、サッカーを


します。


พรุ่งนี้ถึงฝนจะตกก็จะเล่นฟุตบอล


あした雨が降るのに、サッカーをします。